Tag: โรคซึมเศร้า

เช็คสุขภาพจิต แบบง่าย ๆ ทำได้ทุกวันต้องทำอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ

ช่วงนี้ต้องบอกว่าโลกของเรามีปัญหามาก ๆ ที่อาจจะเป็นทั้งในสภาพแวดล้อมที่มีความดราม่าและเต็มไปด้วยความบีบคั้นมากมายจากภายนอก หรือแม้แต่ภายในใจของตัวเราเองก็มีเรื่องเข้ามากมายไม่หยุดหย่อน ซึ่งต้องบอกเลยว่าบางครั้งก็อาจจะสงสัยว่าทำไมชีวิตไม่มีความสุขเลย เป็นโรคซึมเศร้า โรคเครียด โรควิตกกังวลหรือเปล่า ในส่วนนี้ขอให้พักเบรกไปก่อน และมา เช็คสุขภาพจิต แบบง่าย  ๆ ด้วยตัวเองจะเป็นการดีกว่า                เช็คสุขภาพจิต ของตัวเองแบบง่าย ๆ สามารถทำแล้วเห็นผล นำปฏิทินออกมาหรือหากใครไม่มีแนะนำให้ปริ้นท์ปฏิทินของเดือน ๆ นั้นออกมาให้เรียบร้อย ในแต่ละวันแนะนำให้จดว่าเราให้คะแนนความสุขของตัวเองเท่าไหร่ เช่น 10 คือ คะแนนของ การมีความสุข มาก 5 คือ ชีวิตเฉย ๆ สบาย ๆ ไม่มีอะไร หรือหากต่ำกว่านั้นก็หมายความว่าเริ่มไม่มีความสุข ซึ่งใน 1 วันปกติแล้วก็มักมีอารมณ์หลากหลาย แนะนำให้นำมาถัวเฉลี่ยและให้คะแนนเป็นที่เรียบร้อยเพื่อ เช็คสุขภาพจิต เว็บแนะนำสุขภาพ จากนั้นเมื่อให้คะแนนในวันนั้นเป็นที่เรียบร้อย แนะนำว่าให้เขียนสิ่งที่รู้สึก หรือสิ่งที่เป็นปัญหา หรือสิ่งที่ทำให้มีความสุขลงไปแบบสั้น ๆ เพื่อที่ว่าเราจะสามารถมาเช็คอารมณ์ของเราจากภายหลังได้เอง ว่าจริง ๆ แล้ว ณ เวลานั้นเรารู้สึกเป็นอย่างไร หรือ ณ […]

อาการโรคซึมเศร้า เป็นอย่างไร แล้วตัวเราเข้าข่ายโรคนี้อยู่หรือไม่นะ?

อาการโรคซึมเศร้า  เช็กซะว่าเรามีไหม? คุณสามารถสังเกต อาการโรคซึมเศร้า เบื้องต้นของตนเอง  รวมถึงคนใกล้ชิดว่าเข้าข่ายโรคนี้หรือไม่  ซึ่งหากมีอาการที่กล่าว  5  ประการขึ้นไป  ติดต่อกันประมาณ  2  สัปดาห์ขึ้นไป  ก็ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว          1.  มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่  (ในผู้ป่วยวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิดและโมโหง่าย)  2.  มีความเบื่อหน่ายหรือหมดความสนใจในสิ่งที่ตนเคยสนใจ  หรือในสิ่งที่เคยทำให้ตนมีความสุข 3.  รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง  รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า 4.  พูดช้าลง  การทำสิ่งต่างๆ ช้าลง 5.  ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ  เหน็ดเหนื่อยง่ายกว่าปกติ    6.  ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ  ใจลอยเป็นประจำ  หรือรู้สึกลังเลไปหมด 7.  มีความกระวนกระวายใจ  อาจแสดงออกมาด้วยอาการไม่อยู่นิ่งได้  8.  เบื่ออาหาร  กินอาหารได้น้อยลง  บางคนอาจน้ำหนักลดจนผิดสังเกต  แต่บางคนก็อาจกินอาหารมากขึ้นจนน้ำหนักเพิ่มได้ 9.  นอนไม่หลับ  นอนหลับยาก  หรือหลับๆ ตื่นๆ 10.  โรคซึมเศร้านี้อาจส่งผลเสียต่อการเรียนหรือการทำงานอย่างเห็นได้ชัด  (ซึ่งปกติไม่เป็นเช่นนี้)  ได้แก่ อาการโรคซึมเศร้า สามารถตรวจเช็คเบื้องต้นได้จากเว็บไซต์ของเรา –  มาเรียนหรือมาทำงานสายเป็นประจำ […]

ความโศกเศร้า จากการสูญเสีย ที่เป็นสาเหตุทำให้คุณเป็นโรคซึมเศร้าได้!

     มนุษย์ทุกคนย่อมต้องเคยเจอ ความโศกเศร้า จากการสูญเสียมาแล้วทั้งนั้น  จะรุนแรงหรือเล็กน้อย  หรือจะกี่ครั้งก็ว่ากันไป  แต่ใช่ว่าทุกคนจะเอาอยู่  ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้ครับ ความโศกเศร้า จากการสูญเสียคืออะไร?      คือการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์เรา  ที่เมื่อผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาสักระยะแล้ว  วันหนึ่งที่ต้องสูญเสีย  ไม่ได้ชื่นชมหรือครอบครองอีกต่อไป  ก็นำไปสู่ความโศกเศร้าเสียใจ  หดหู่ใจ  เครียด  และอาจรู้สึกว่าชีวิตของตนไร้ค่า  ไร้จุดหมายอีกต่อไป  พูดง่ายๆ ว่าเสียศูนย์นั่นเอง… ระยะของความโศกเศร้าจากการสูญเสียทั้งหมด  5  ระยะ ระยะที่  1  การปฏิเสธ       ซึ่งเป็นการปฏิเสธที่จะไม่ยอมรับความจริง  เป็นการตอบสนองในทันทีเมื่อรู้สึกช็อกหรือสะเทือนใจอย่างรุนแรง  หลายคนอาจมีอาการเช่นนี้เพื่อปกป้องตัวเองจากความสูญเสีย ระยะที่  2  ความโกรธ       บางคนอาจกล่าวโทษสิ่งต่างๆ ว่าเป็นสาเหตุทำให้ต้องสูญเสีย  ซึ่งความโกรธนี้อาจนำไปสู่ความคิดทำร้ายตัวเองหรือแม้แต่ฆ่าตัวตายได้ครับ ระยะที่  3  การต่อรอง       เป็นการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดอย่างหนึ่ง  เพื่อทำให้ตัวเองสามารถกลับมาควบคุมสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเดิมอีกครั้ง ระยะที่  4  ภาวะซึมเศร้า      เมื่อเกิดความเศร้าแล้วก็จะมีการแสดงออกซึ่งความรู้สึกในรูปแบบต่างๆ ออกมา  เช่น  กรีดร้อง  ร้องไห้ฟูมฟาย […]

โรคซึมเศร้า เรารู้จักโรคนี้ดีแค่ไหน และรู้จักอย่างถูกต้องจริงหรือไม่ด้วย?

     คือโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง  ซึ่งปัจจุบันผู้คนเป็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ  ที่สำคัญหลายคนเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว  คิดว่าเป็นเพียงอาการคิดมากหรือเครียดกับการดำเนินชีวิตเท่านั้นครับประเภทหลักๆ ของ โรคซึมเศร้า 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว  (มีอาการซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว) 2.โรคซึมเศร้าแบบ  2  ขั้ว  หรือไบโพลาร์  (มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ มากกว่าคนปกติ  จนส่งผลเสียในการดำเนินชีวิต) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ –  การมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล –  เหตุการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก  เช่น  การสูญเสียคนที่ตนรักไปทั้งจากเป็นหรือจากตาย  การถูกฟ้องล้มละลายหรือทำธุรกิจแล้วขาดทุนย่อยยับ –  พันธุกรรม  เช่น  มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ –  การเลี้ยงดูของครอบครัว  รวมถึงสภาพแวดล้อมตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ –  พื้นฐานนิสัยใจคอ  เช่น  เป็นคนคิดมาก  เคร่งเครียด  มองโลกในแง่ร้ายหรือแง่ลบ  อ่อนไหวง่าย –  อิทธิพลของคนรอบข้าง โรคซึมเศร้ากับภาวะอารมณ์เศร้า  ต่างกันอย่างไร?      ขึ้นชื่อว่า “โรค” แล้วย่อมแสดงถึงความผิดปกติทางการแพทย์  และมีความรุนแรงกว่าคำว่า “ภาวะ” ครับ  เนื่องจากโรคซึมเศร้าเมื่อเป็นแล้วจะกินเวลายาวนาน  และไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้นด้วย  ที่สำคัญมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิด  รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ […]

โรคซึมเศร้า มาทำความเข้าใจเสียใหม่เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีกว่า

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า ของบางคน –  คนทั่วไปเมื่อพบเห็นผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ก็มักคิดว่า  เขาคนนั้นเป็นประเภทคนอ่อนแอขี้แพ้  คิดมากเกินไป  เคร่งเครียด  หรือไม่เข้าใจธรรมชาติของชีวิต –  หลายคนคิดว่าผู้ป่วยโรคนี้ต้องการเรียกร้องความสนใจหรือความเห็นอกเห็นใจ –  บางคนอาจคิดว่าผู้ป่วยโรคนี้เป็นคนบ้าหรือวิกลจริต! ถาม –  ตอบ  เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 1.  ถาม  :โรคซึมเศร้าคือโรคจิตใช่หรือไม่? ตอบ  :โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิตครับแต่เป็นโรคทางอารมณ์  มีอาการสำคัญคืออารมณ์จะเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ  เช่น  ซึมเศร้า  นอนไม่หลับ  กินไม่ลง  ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจประสาทหลอนหรือหลงผิดได้  แต่พบไม่บ่อย  ส่วนโรคจิตคือโรคที่มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิดแบบเรื้อรัง 2.  ถาม  :สามารถใช้การปฏิบัติธรรมรักษาโรคซึมเศร้าได้หรือไม่? ตอบ   :ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อน  ได้แก่  อาการของโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหน  ผู้ป่วยมีพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมหรือไม่  มีผู้ชี้แนะทางธรรมที่ถูกต้องหรือไม่  เพราะหากมีอาการของโรครุนแรง  ควบคุมดูแลตัวเองไม่ได้  ก็ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์มากกว่า  เมื่ออาการดีขึ้นจนแพทย์วางใจ  อาจใช้วิธีนี้รักษาควบคู่ไปกับทางการแพทย์ครับ 3.  ถาม  :  มีคำพูดไหนที่ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบ้าง? ตอบ  :  คำพูดที่ไม่เหมาะสมและอาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วย  เพราะเหมือนเป็นการไม่เข้าใจผู้ป่วย  […]

ป้องกันโรคซึมเศร้า ด้วยวิธีง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขเยอะ

    คือการคิดบวก  ซึ่งเป็นการสร้างความสุขให้กับจิตใจ  ทำให้จิตใจเข้มแข็ง  มีความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคและความสูญเสียในชีวิตได้ดีขึ้นและนี่คือการ ป้องกันโรคซึมเศร้า กินดี       คือการกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ  5  หมู่ในปริมาณที่เพียงพอ  โดยเฉพาะสารอาหารที่ลดความเสี่ยงและเป็นการ ป้องกันโรคซึมเศร้า ได้  เช่น  –  อาหารที่มีวิตามินเอสูง  ได้แก่  ผักและผลไม้สีเหลือง  สีเขียว  และสีส้ม  เช่น  แคร์รอต  ตำลึง  ผักบุ้ง  คะน้า  พริกหยวก  ฟักทอง  ข้าวโพด  ผักโขม  มะม่วงสุก  ขนุน  แคนตาลูป    –  อาหารที่มีวิตามินซีสูง  ได้แก่  ผักและผลไม้ต่างๆ  เช่น  กะหล่ำดอก  ชะอม  ใบมะรุม  บร็อกโคลี  ผักเคล  มะนาว  ฝรั่ง  มะละกอ  ลิ้นจี่  ส้ม  ส้มโอ  สับปะรด  มะขามป้อม  พุทรา  ระกำ  กีวี  สตรอเบอร์รี    […]

โรคซึมเศร้า กับแบบทดสอบ 9 คำถามสั้นๆ ทำให้ทราบว่า ตัวเรามีแนวโน้มเป็น

การให้คะแนนตัวเองว่าเป็น โรคซึมเศร้า หรือไม่      ให้คุณให้คะแนนตัวเอง  จากแบบทดสอบด้านล่างตามนี้ครับ –  0  คะแนน  =  ไม่  หรือไม่มีเลย  –  1  คะแนน  =  ไม่บ่อยนัก –  2  คะแนน  =  ค่อนข้างบ่อย –  3  คะแนน  =  บ่อยๆ  เกือบทุกวัน  หรือทุกวัน ทำแบบทดสอบกันเลย!      ในเวลา  2  สัปดาห์ที่ผ่านมา  คุณมีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนกัน? 1.  มีอาการไม่สบายใจ  ซึมเศร้า  หดหู่  หรือสิ้นหวังท้อแท้  ………คะแนน 2.  ไม่ชอบหรือรู้สึกไม่ดีกับตนเอง  คิดว่าตนเองไม่ดี  ไม่เก่ง  ล้มเหลวในชีวิต  หรือทำให้ครอบครัวและคนรอบข้างต้องผิดหวัง  ………คะแนน 3.  รู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด  ทำกิจกรรมอะไรก็ไม่มีความสุขหรือเพลิดเพลิน  ………คะแนน 4.  พูดและทำสิ่งต่างๆ ช้าลง  […]

โรคซึมเศร้า ต้องทำอย่างไร มีอะไรที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรคนี้บ้าง?

เวลาในการเปลี่ยนแปลงของ โรคซึมเศร้า      ผู้ป่วยจะมีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป  บางคนเป็นโรคนี้เร็วภายใน  1 – 2  สัปดาห์เท่านั้น  แต่บางคนอาจใช้เวลานานเป็นเดือนๆ  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ  ได้แก่  –  บุคลิกของตัวผู้ป่วยเองว่าเป็นคนอย่างไร –  เหตุการณ์ที่มากระทบจิตใจ  ซึ่งมีความรุนแรงมากหรือน้อย –  ท่าทีและการช่วยเหลือดูแลของคนรอบข้าง  ทั้งคนในครอบครัว  เพื่อนร่วมงาน  เพื่อนร่วมห้องเรียน  และสังคม เมื่อคิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจเป็น โรคซึมเศร้า  ต้องให้แน่ใจจริงๆ เสียก่อน      นอกเหนือจากการสังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตนเองแล้ว  ว่ามีอาการเข้าข่ายมากน้อยแค่ไหน  และมีอาการมานานหรือไม่  (ต้องมีอาการผิดปกติเกือบทุกวันหรือทุกวัน  อาการยาวนานติดต่อกัน  2  สัปดาห์ขึ้นไป   ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ หรือเพียงแค่ไม่กี่วันเท่านั้น)  ก็อาจไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียดให้แน่ใจ  เพราะอาจเป็นโรคทางจิตเวชที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้าได้      นอกจากนี้ยาบางชนิดและโรคต่างๆ ก็อาจมีผลทำให้  มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้าจนเกิดความสับสนได้  ได้แก่ –  ยาบางชนิด  เช่น  ยารักษาโรคมะเร็ง  ยาลดความดันเลือด  ยาในกลุ่มสเตียรอยด์และฮอร์โมน  ยารักษาโรคพาร์กินสัน    –  โรคต่างๆ  เช่น  […]

สุขภาพ-รู้จัก โรคซึมเศร้า กับพฤติกรรมเสี่ยงทางจิต

โรคซึมเศร้า ในปัจจุบันหลายคนคงได้ยินคำว่าโรคซึมเศร้ากันอย่างแพร่หลาย แต่คงยังไม่รู้ถึงความรุนแรงของอาการที่แท้จริง และก็อาจจะยังไม่รู้ถึงผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองจริงๆหรือเกิดจากความรู้สึกท้อแท้ จนหาทางออกไม่ได้ โรคซึมเศร้า กับพฤติกรรมเสี่ยงทางจิต ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางด้านสมอง ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิด ความรู้สึกที่เป็นมากกว่าอาการซึมเศร้าโดยปกติ ส่งผลไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกและสุขภาพร่างกาย นั่นหมายถึงอาการผิดปกติทางจิต ที่เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลอย่าง ซีโรโตซิน โดปามีน และนอร์เอปิเนฟริน ซึ่งควรจะได้เข้ารับการบำบัด และจำเป็นจะต้องใช้ยา สำรวจพฤติกรรมความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า โดยถ้าหากมีอาการเหล่านี้มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปโดยต้องมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อและมีข้อ1 หรือข้อ2 ร่วมด้วยแสดงถึงการมีความเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งควรจะรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์ มีอาการหงุดหงิดง่ายมากๆและติดต่อกันนาน หรือมีอาการเบื่อ ท้อแท้ปนเศร้า ไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบตัว แม้กระทั่งสิ่งของที่ชอบ งานที่ชอบทำ น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป เดี๋ยวกินมาก เดี๋ยวกินน้อย นอนซมหรือนอนแช่อยู่แต่บนที่นอน ทั้งที่อาจจะไม่ได้นอนหลับ มีการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความกระวนกระวาย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดแรง และไม่อยากทำอะไร โทษตัวเองทุกเรื่อง รู้สึกผิดและไร้ค่า มีปัญหาในการคิดวิเคราะห์หรือตัดสินใจ หรือไม่มีสมาธิในการทำในสิ่งต่างๆ มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เมื่อมีการตรวจวินิจฉัย หรือการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยและคนรอบข้างจะได้รับคือแนวทางการรักษาต่างๆ […]

โรคซึมเศร้า โรคที่อยู่ใกล้ตัวไม่ใกล้ไม่ไกลจากสุขภาพของตัวเรา

โรคซึมเศร้า โรคที่คุณเป็นนั้นขอบอกเลยว่าอาจจะไม่มีอาการบาดเจ็บใดๆ เพราะมิใช่อาการที่คุณเห็นว่ามีบาดแผล แต่เป็นอาการที่อยู่ภายในจิตใจของคุณเอง อย่างโรคซึมเศร้าก็เป็นโรคชนิดหนึ่งที่หลายๆคนในยุคปัจจุบันนี้เป็นกันเยอะมากๆ เหตุที่มีคนเป็นเยอะก็เพราะว่าส่วนหนึ่งเกิดจากสุขภาพความเครียดที่มีความสะสมเป็นเดิมทุนอยู่แล้ว ซึ่งความเครียดนั้นไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกี่ยวกับตนเองหรือว่าของผู้อื่นหรือว่าจะเป็นความเครียดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวก็ตามก็ถือว่ามีผลต่อจิตใจทั้งสิ้น โรคซึมเศร้า อยู่ใกล้ตัวของตัวเรา ในเมื่อเรารู้แล้วว่าโรคซึมเศร้านั้นเกิดขั้นจากสุขภาพความเครียดเป็นเหตุคนเราทุกคนก็ต้องพยายามสลัดความเครียดที่มีอยู่นั้นออกไปให้จงได้ เพราะหากเรายิ่งสะสมไว้มากเท่าไหร่อาการของโรคซึมเศร้าก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาการของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป บางคนก็มีการกรีดร้องหรือว่าทำร้ายตัวเอง เป็นต้น เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วว่าโรคซึมเศร้านั้นเกิดจากสุขภาพความเครียด เราก็ต้องหาทางออกให้กับตัวเอง อย่างเช่น หาคนที่สามารถที่จะให้คำปรึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ แฟน หรือว่าเพื่อน หรือว่าจะหากิจกรรมอื่นๆทำเพื่อคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง การดูหนัง หรือการไปช้อปปิ้ง เป็นต้น และเมื่อเราหาวิธีในการแก้ไขปัญหาของโรคซึมเศร้าได้แล้ว เราก็จะรู้สึกว่ามีสุขภาพที่ผ่อนคลายเบาสมองมากขึ้น แต่ถ้าคุณหาทางออกไม่ได้ยังคงมีความเครียดอยู่ ขอแนะนำว่าให้คุณไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการแก้ไขปัญหาที่คุณมี จะเห็นได้ว่า โรคซึมเศร้านั้นไม่ใช่โรคที่มีความไกลตัวจากคนเราทุกคน ฉะนั้น ถ้าหากเกิดความเครียดขึ้นมาเมื่อใดสิ่งที่คนเราจะสามารถทำได้ คือ การปลดปล่อยความเครียดนั้นด้วยการทิ้งความเครียดนั้นออกไปจากสมองของคนเราเสีย เพียงเท่านี้โรคซึมเศร้าที่ไม่พึงประสงค์ก็ไม่สามารถมายุ่งกับสุขภาพของคุณได้เลย โรคซึมเศร้า มีอาการอย่างไร สาเหตุจากอะไรและ วิธีรักษา >>>>เว็บแนะนำข้อมูลสุขภาพ >>>>วิธีรักษาโรคซึมเศร้า ภาพที่ 1 ที่มา https://images.app.goo.gl/3WmuFkE7cJkR71Eh8 ภาพที่ 2 ที่มา https://images.app.goo.gl/GcmontgyD3h6U8Ek9 ภาพที่ 3 ที่มา https://images.app.goo.gl/X7M3oSUnQsayLMWg8

Back To Top