อาหารเช้า และโทษของการไม่กินอาหารเช้าที่อันตรายกับสุขภาพมากกว่าที่คิด
เนื่องจาก อาหารเช้า ที่กินเข้าไป ร่างกายจะย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในรูปของน้ำตาล (กลูโคส) ซึ่งอยู่ในเลือดเป็นหลัก มีบางส่วนที่เรียกว่าไกลโคเจนซึ่งเป็นพลังงานสำรอง เก็บไว้ตามกล้ามเนื้อและตับด้วย ควรกินอาหารเช้าตอนไหนดี? เพราะอาหารเช้าสำคัญ คุณควรกินมื้อแรกของวันหลังจากตื่นนอน 1 ชั่วโมงครับ หากเลยกว่านี้จะกลายเป็นมื้อสายๆ ที่สักพักก็เป็นมื้อกลางวันอีกแล้ว ทำให้รู้สึกอึดอัดเพราะร่างกายย่อยไม่ทัน อาหารเช้าที่กินควรมีลักษณะอย่างไร? – ควรมีสารอาหารครบทั้งห้าหมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ อย่าคิดว่ารีบกินเข้าไปให้อิ่มๆ ก็พอ แล้วไปหาอาหารที่มีประโยชน์ในมื้อถัดไป – ควรมีปริมาณที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ดังนั้นต้องสังเกตตัวเองว่าเมื่อใกล้มื้อกลางวันหากรู้สึกหิวมาก แสดงว่าคุณกินมื้อเช้าน้อยเกินไปครับ – มื้อเช้าสำคัญมาก หากสามารถกินมื้อเช้าที่บ้านได้ก็จะดีมาก เพราะสะดวกสบายและสามารถกะปริมาณอาหารได้ แนะนำให้ใช้ภาชนะเดิมใส่อาหารที่กะมาดีแล้ว – ควรมีความย่อยง่ายเพื่อให้ร่างกายย่อยได้เร็ว ทันกับการนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ – ควรกินอาหารเช้าด้วยความไม่เร่งรีบ หากสามารถทำได้ และไม่ควรทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย เพราะจะทำให้กินมากโดยไม่รู้ตัว โทษของการไม่กิน อาหารเช้า ที่หลายคนไม่เคยรู้… – ทำให้รู้สึกหิวตลอดเวลาจนกว่าจะได้กินอาหาร – ทำให้หงุดหงิดง่าย […]
อาหารมื้อเช้า ใครไม่ชอบกินมื้อเช้าต้องรีบเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วน
กิน อาหารมื้อเช้า กี่แคลอรี่ดี ? พลังงานที่เหมาะสมกับคนทั่วไปอยู่ที่ 400 – 450 แคลอรี่ (ปกติคนเรากินอาหาร 3 มื้อ พลังงานที่ควรได้รับใน 1 วันอยู่ที่ประมาณ 1,500 แคลอรี่ครับ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้แรงงานมาก) กินอาหารมื้อเช้าทำเองดีกว่า หากเป็นไปได้ควรทำ อาหารมื้อเช้า กินเอง เพราะเราสามารถควบคุมความสด ความสะอาด ประโยชน์ และปริมาณได้ นอกจากนี้ยังจำกัดโซเดียมที่ร่างกายไม่ต้องการในปริมาณมากได้ เสริมทัพให้อาหารมื้อเช้า เพราะเราควรกินมื้อเช้าแบบจัดเต็ม มื้ออื่นๆ ก็ตามสภาพไปไม่เน้นเท่าไร ดังนั้นควรเสริมคุณค่าสารอาหารให้ครบถ้วน ด้วยการดื่มนมและกินผลไม้สดในมื้อเช้าครับ อย่าขาดโปรตีนเด็ดขาด เมนูอาหารมื้อเช้าที่เหมาะสมควรมีโปรตีนที่เพียงพอ เพราะให้พลังงานและหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ที่ช่วยลดความอยากอาหารในระหว่างวันได้ดี ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเมนูมื้อเช้าควรเน้นกินแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตเยอะๆ ซึ่งให้พลังงานสูง แต่กลายเป็นว่ากินแล้วกลับหิวบ่อย… เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เมนูมื้อเช้าต้องมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งมีเส้นใยอาหารสูงที่ช่วยทำให้อิ่มนาน ดีต่อระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย รวมถึงยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีต […]