โรคซึมเศร้า เรารู้จักโรคนี้ดีแค่ไหน และรู้จักอย่างถูกต้องจริงหรือไม่ด้วย?
คือโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันผู้คนเป็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญหลายคนเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นเพียงอาการคิดมากหรือเครียดกับการดำเนินชีวิตเท่านั้นครับประเภทหลักๆ ของ โรคซึมเศร้า 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว (มีอาการซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว) 2.โรคซึมเศร้าแบบ 2 ขั้ว หรือไบโพลาร์ (มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ มากกว่าคนปกติ จนส่งผลเสียในการดำเนินชีวิต) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ – การมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล – เหตุการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก เช่น การสูญเสียคนที่ตนรักไปทั้งจากเป็นหรือจากตาย การถูกฟ้องล้มละลายหรือทำธุรกิจแล้วขาดทุนย่อยยับ – พันธุกรรม เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ – การเลี้ยงดูของครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ – พื้นฐานนิสัยใจคอ เช่น เป็นคนคิดมาก เคร่งเครียด มองโลกในแง่ร้ายหรือแง่ลบ อ่อนไหวง่าย – อิทธิพลของคนรอบข้าง โรคซึมเศร้ากับภาวะอารมณ์เศร้า ต่างกันอย่างไร? ขึ้นชื่อว่า “โรค” แล้วย่อมแสดงถึงความผิดปกติทางการแพทย์ และมีความรุนแรงกว่าคำว่า “ภาวะ” ครับ เนื่องจากโรคซึมเศร้าเมื่อเป็นแล้วจะกินเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้นด้วย ที่สำคัญมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ […]
ป้องกันโรคซึมเศร้า ด้วยวิธีง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขเยอะ
คือการคิดบวก ซึ่งเป็นการสร้างความสุขให้กับจิตใจ ทำให้จิตใจเข้มแข็ง มีความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคและความสูญเสียในชีวิตได้ดีขึ้นและนี่คือการ ป้องกันโรคซึมเศร้า กินดี คือการกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะสารอาหารที่ลดความเสี่ยงและเป็นการ ป้องกันโรคซึมเศร้า ได้ เช่น – อาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ ผักและผลไม้สีเหลือง สีเขียว และสีส้ม เช่น แคร์รอต ตำลึง ผักบุ้ง คะน้า พริกหยวก ฟักทอง ข้าวโพด ผักโขม มะม่วงสุก ขนุน แคนตาลูป – อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผักและผลไม้ต่างๆ เช่น กะหล่ำดอก ชะอม ใบมะรุม บร็อกโคลี ผักเคล มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ลิ้นจี่ ส้ม ส้มโอ สับปะรด มะขามป้อม พุทรา ระกำ กีวี สตรอเบอร์รี […]