รู้ทัน โรคเบาหวาน ภัยเงียบของคนไทย

โรคเบาหวาน

ปัจจุบันมีคนไทยการเข้ารับการตรวจ และ การรักษากับแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องจลอดทั้งปี เนื่องจากเริ่มเป็น โรคเบาหวาน กันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะคนที่มีรูปร่างผอมเพรียว หรือคนที่มีรูปร่างใหญ่ท่วม ทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคเบาหวานได้เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเองการดำรงชีวิตกรรมพันธุ์ ล้วนแต่ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานทั้งนั้น ดังนั้นเราจึงควร รู้ทันโรคเบาหวาน ภัยเงียบของคนไทย เพื่อให้เราได้มีวิธีเตรียมตัวและวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ช่วยเสริมให้สุขภาพแข็งแรง

โรคเบาหวาน คืออะไร

โรคเบาหวาน

          เกิดจากความผิดปกติในเรื่องของน้ำตาลและการผลิตฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณ ฮอร์โมนที่ผิดปกติก็คือฮอร์โมนอินซูลินน้อย จึงทำให้น้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งจะมีปริมาณสูงขึ้นจึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน หลายคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในเวลา 2-3 ปีขึ้นไปถ้าหากไม่ได้รับการรักษาและการดูแลตัวเองที่ดีจะทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้

สาเหตุของโรคเบาหวาน

          สาเหตุของโรคเบาหวานหลัก ๆ ก็จะมีการใช้ชีวิตประจำวันการปฏิบัติเกี่ยวกับการทานอาหาร และ การเลือกบริโภคของหวาน หรือ บางครั้งอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ในตระกูล ที่จะถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

วิธีการรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

          หากตรวจพบว่าคนเป็นโรคเบาหวานควรจะต้องทำการรักษาให้เร็วที่สุด โดยคุณจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง อาจจะต้องมีการกินยาทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และ เป็นเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดโรคแทรกซ้อนและบรรเทาอาการที่มีอยู่ 

วิธีการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

          คุณจะต้องควบคุมโภชนาการ หลักการบริโภคอาหารในแต่ละวันให้เป็นสัดส่วน และควรทานอาหารให้มีรสชาติพอเหมาะ ไม่หวานหรือมีรสจัดจนเกินไปหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลขนาดหนัก เพื่อรักษาระดับน้ำตาลภายในเลือด ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำควรพบแพทย์หากรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยง

          นอกจากนี้แล้วคุณไม่ควรเฉยเมยต่อเรื่องสุขภาพของคุณ คุณควรมีการตรวจน้ำตาลประจำปีในทุก ๆ ปี หรือตรวจสุขภาพประจำปี กินอาหารรสพอเหมาะไม่หวานจนเกินไปอีกครั้งพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดี หลังจากที่คุณได้อ่านบทความ รู้ทันโรคเบาหวาน ภัยเงียบของคนไทย คุณจะต้องทำได้อย่างแน่นอน 

“เบาหวานลงไต” คืออะไร

<<<วิธีลดน้ำหนัก >>> <<<การป้องกันโรค>>>

Back To Top