มีการค้นพบโคลนนิ่งของแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ที่ทำให้โรคไข้อีดำอีแดงกลับมาอีกครั้ง

แบคทีเรีย Streptococcus pyogenes

แบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ที่ทีมนักวิจัยนานาชาติที่นำโดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้พบว่าแบคทีเรียStreptococcus pyogenesที่มีประจุไฟฟ้ามากเกินไปนั้น กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้การเกิดโรคไข้อีดำอีแดงกลับมาใหม่ อีกทั้งยังทำให้มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาในหลายศตวรรษด้วย ซึ่งหน่วยงานด้านสุขภาพทั่วโลกรู้สึกประหลาดใจว่าโรคไข้อีดำอีแดงกลับมาแพร่ระบาดในประเทศแถบเอเชียในปี 2011 อีกครั้ง

แบคทีเรีย Streptococcus pyogenes

แบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ที่ทำให้เกิดโรคไข้อีดำอีแดงนี้ จะคล้ายกับเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียStreptococcus pyogenesที่ทำให้เกิดโรคไข้อีดำอีแดงนี้ จะคล้ายกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผู้คนสามารถติดกันได้ทางละอองฝอยจากการไอ จาม และอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ได้รับเชื้อโรคนี้ คือ จะเจ็บคอ มีไข้ปวดศรีษะ ต่อมน้ำเหลืองบวม และมีผื่นแดงขึ้นตามตัว ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-10 ปี โดยในปี 2011 พบว่าการแพร่ระบาดของโรคไข้อีดำอีแดงเริ่มชัดเจนมากขึ้น
โดยมีการรายงานการกลับมาระบาดของโรคนี้ที่ สหราชอาณาจักรอีกครั้งในปี 2014 หลังจากที่หายไปตั้งแต่ปี 1940 และในปัจจุบันก็ได้ค้นพบว่ายังเกิดการระบาดโรคไข้อีดำอีแดงในประเทศออสเตรเลียด้วยเช่นกัน

แบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ที่ทำให้โรคไข้อีดำอีแดง

ทั้งนี้การกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งของไข้อีดำอีแดงทั่วโลก ทำให้อัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่า และมีผู้ป่วยมากกว่า 600,000 รายทั่วโลก ทั้งนี้ทีมงานวิจัยได้พบว่าแบคทีเรียStreptococcus pyogenes ได้รับสารพิษ superantigen ที่ทำให้กลายเป็นโคลนนิ่งแบคทีเรียStreptococcus pyogenes

โดยสารพิษจะถูกถ่านโอนเข้าไปในแบคทีเรียเมื่อได้รับเชื้อจากไวรัสที่มียีนของสารพิษ ซึ่งยังได้พบว่าสารพิพษที่เข้าไปในเชื้อแบคทีเรียStreptococcus pyogenes นี้ จะสามารถสร้างตัวต้นแบบที่สามารถแข่งกับสายพันธุ์อื่นได้ และจากการเกิดโคลนนิ่งแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ที่อัดแน่นภายในเซลล์ จึงทำให้โรคไข้อีดำอีแดงกลับมาเกิดได้อีกในปัจจุบัน และเมื่อทีมนักวิจัยได้กำจัดยีนพิษออกจากโคลนนิ่งแบคทีเรีย Streptococcus pyogenesที่เป็นสาเหตุของโรคไข้อีดำอีแดงนั้น ก็พบว่าจะทำให้รูปแบบการติดเชื้อภายในสัตว์ที่ทดลองทำได้น้อยลง

แบคทีเรีย Streptococcus ที่ทีมนักวิจัยนานาชาติที่นำโดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์

โดยปัจจุบันนี้การระบาดของไข้อีดำอีแดงมีจำนวนลดลง ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่เน้นการใส่หน้ากาก การล้างมือ และการสร้างระยะห่างทางสังคม แต่ถ้าเมื่อไรที่การสร้างระยะห่างทางสังคมเริ่มผ่อนคลาย นักเรียนกลับไปโรงเรียนได้ตามปกติ โรคไข้อีดำอีแดงนี้ก็อาจจะกลับมาระบาดได้อีกหากไม่ได้มีการป้องกันที่เพียงพอ

กดติดตามเว็บไซต์การดูแลสุขภาพ
ข่าวสารสุขภาพที่น่าสนใจสุขภาพกายที่ต้องรักษาในยุคที่โรคโควิด มีการแพร่ระบาด

Back To Top