สุขภาพ-รู้จัก โรคซึมเศร้า กับพฤติกรรมเสี่ยงทางจิต

โรคซึมเศร้า รูปภาพ1

โรคซึมเศร้า ในปัจจุบันหลายคนคงได้ยินคำว่าโรคซึมเศร้ากันอย่างแพร่หลาย แต่คงยังไม่รู้ถึงความรุนแรงของอาการที่แท้จริง และก็อาจจะยังไม่รู้ถึงผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองจริงๆหรือเกิดจากความรู้สึกท้อแท้ จนหาทางออกไม่ได้

โรคซึมเศร้า กับพฤติกรรมเสี่ยงทางจิต

โรคซึมเศร้า รูปภาพ3

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางด้านสมอง ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิด ความรู้สึกที่เป็นมากกว่าอาการซึมเศร้าโดยปกติ ส่งผลไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกและสุขภาพร่างกาย นั่นหมายถึงอาการผิดปกติทางจิต ที่เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลอย่าง ซีโรโตซิน โดปามีน และนอร์เอปิเนฟริน ซึ่งควรจะได้เข้ารับการบำบัด และจำเป็นจะต้องใช้ยา

สำรวจพฤติกรรมความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า โดยถ้าหากมีอาการเหล่านี้มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปโดยต้องมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อและมีข้อ1 หรือข้อ2 ร่วมด้วยแสดงถึงการมีความเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งควรจะรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์

  1. มีอาการหงุดหงิดง่ายมากๆและติดต่อกันนาน หรือมีอาการเบื่อ ท้อแท้ปนเศร้า
  2. ไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบตัว แม้กระทั่งสิ่งของที่ชอบ งานที่ชอบทำ
  3. น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป เดี๋ยวกินมาก เดี๋ยวกินน้อย
  4. นอนซมหรือนอนแช่อยู่แต่บนที่นอน ทั้งที่อาจจะไม่ได้นอนหลับ
  5. มีการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความกระวนกระวาย
  6. ไม่มีเรี่ยวแรง หมดแรง และไม่อยากทำอะไร
  7. โทษตัวเองทุกเรื่อง รู้สึกผิดและไร้ค่า
  8. มีปัญหาในการคิดวิเคราะห์หรือตัดสินใจ หรือไม่มีสมาธิในการทำในสิ่งต่างๆ
  9. มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้า รูปภาพ2

เมื่อมีการตรวจวินิจฉัย หรือการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยและคนรอบข้างจะได้รับคือแนวทางการรักษาต่างๆ การจ่ายยา รวมไปถึงการบำบัดทางจิตเวช และในอีกทางคือกำลังใจจากคนรอบข้าง คนใกล้ชิด การพูดคุยให้กำลังใจแสดงถึงความห่วงใยและอยากช่วยเหลือ จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการที่ผ่อนคลายขึ้น

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เว็บแนะนำข้อมูลสุขภาพ หรือบทความอื่นๆ

ข้อมูลสุขภาพอื่นๆ ดื่ม “ชา” มากเกินไป อาจเสี่ยง “โรคไต” ได้

Back To Top