ฉีดวัคซีนป้องกัน มะเร็งปากมดลูก (HPV) ในเด็กหญิงดีจริงมั้ย ?

มะเร็งปากมดลูก สไลด์2

มะเร็งปากมดลูก จากข่าวโลกออนไลน์ที่กำลังโด่งดัง เด็กหญิงวัย 11 ปี เสียชีวิตหลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน(HPV) จึงทำให้ผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน (HPV)       ในเด็กนักเรียนช่วงอายุตั้งแต่ 9 ปีเป็นต้นไป หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ ว่าฉีดวัคซีนแล้วดีจริงมั้ย ? หรือเด็กหญิงวัย 11 ปีเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนป้องกัน(HPV) จริงหรือเปล่า ???

ฉีดวัคซีนป้องกัน มะเร็งปากมดลูก (HPV) ในเด็กหญิง อันตรายหรือไม่

ณ. ตอนนี้สถาบันมะเร็งแห่งชาติยังไม่มีการสรุปแน่ชัดว่าเด็กหญิงวัย 11 ปี เสียชีวิตจากการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน (HPV) ยังคงต้องรอผลชันสูตรจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ต่อไป

มะเร็งปากมดลูก สไลด์1

          มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ของเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง โดยช่วงอายุที่พบว่าเป็นมากที่สุด คือ ช่วงอายุ     35 – 60 ปี ในหญิงไทย สาเหตุการเกิดโรคเกิดจากการติดเชื้อ Human Papillomavirus หรือ HPV มักจะเกิดการติดเชื้อบริเวณปากมดลูก เชื้อ Human Papillomavirus หรือ HPV มีหลากหลายชนิด ชนิดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดคือ ชนิด HPV 16 และ HPV 18 และชนิดที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ ชนิด HPV 11 ซึ่งทำให้เกิดหูดหงอนไก่

            เชื้อ Human Papillomavirus หรือ HPV ชนิดที่มีความรุนแรงที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค คือ HPV 16 และ HPV 18 ดังนั้น การผลิตวัคซีนขึ้นมาเพื่อป้องกันการเกิดในเพศหญิง จึงทำขึ้นมาเพียงชนิด HPV 16 และ HPV 18 เท่านั้น เพราะเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงต่อร่างกาย เกิดการแพร่กระจายของมะเร็ง และนำไปสู่การเสียชีวิต

ทำความรู้จัก  “ วัคซีนป้องกัน (HPV) ”

            วัคซีนป้องกัน (HPV) คือ วัคซีนที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งการฉีดวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อฉีดในวัย 9 ปีขึ้นไป และฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สามารถฉีดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่ดี และมีความจำเป็นต่อการป้องกันในการเกิดโรคได้มากที่สุด

ความเสี่ยงต่อการฉีดวัคซีน

มะเร็งปากมดลูก สไลด์2

ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนชนิดใด มักมีความเสี่ยงกับผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนอยู่แล้ว โดยการมีไข้ต่ำ รู้สึกไม่สบายตัว เจ็บแขน หรือมีอาการเวียนหัว แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนรุนแรงแบบ anaphylaxis ซึ่งมีโอกาสเกิด 3 ใน 1,000,000 คน คือ มีอาการแพ้ที่รุนแรงและมีอันตรายถึงชีวิต หลังจากที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรือหมดสติ ควรที่จะพาผู้ป่วยพบแพทย์ทัน

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เว็บแนะนำข้อมูลสุขภาพ หรือบทความ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ วัคซีนมะเร็งปากมดลูกกับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

Back To Top